วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์


1. จงให้นิยาม คำว่า "นักคอมพิวเตอร์"
บุคลากรคอมพิวเตอร์หมายถึง บุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ หรือทำงานในศูนย์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ผู้จัดการ นักวิเคราะห์ระบบ วิศวกรคอมพิวเตอร์ นักเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ผู้ควบคุมเครื่อง พนักงานเตรียมข้อมูล ๆ บางทีเรียกรวม ๆ ว่า นักคอมพิวเตอร์ (Computerese) หรือ peoplewareมีความหมายเหมือน liveware
2. บุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์
             
งานอาชีพคอมพิวเตอร์เป็นงานที่ต้องรับผิดชอบร่วมกับบุคคลหลายระดับ  บางครั้งอาจเป็นบุคคลต่างสาขาอาชีพ  ดังนั้นการประกอบอาชีพงานคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงบุคลิกภาพที่เหมาะสมรวมทั้งผู้มีอาชีพนักคอมพิวเตอร์จะต้องมีความรู้  ความชำนาญในวิชาชีพด้วยและจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าผู้มาติดต่อ  นายจ้าง  รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายต่าง  ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสายงานทั้งทางตรงและทางอ้อม
              
งานของนักคอมพิวเตอร์จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น  ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ  แต่ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งก็คือ  บุคลิกภาพ   คนส่วนมากแล้วมักจะคิดว่านักคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้  ความสามารถดี  มีประสบการณ์ในการทำงานมาเป็นอย่างดีแต่ลืมนึกไปถึงส่วนประกอบปลีกย่อยที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง  คือ  บุคลิกภาพ  ถึงแม้บุคลิกภาพจะเป็นองค์ประกอบเสริม  แต่ก็เป็นการทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมที่ทำให้งานอาชีพประสบผลสำเร็จได้ไม่แพ้องค์ประกอบด้านอื่นๆ 
3. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักคอมพิวเตอร์
นักคอมพิวเตอร์ที่ดีควรมีคุณสมบัติที่เอื้อประโยชน์ต่องานอาชีพ คุณสมบัติที่ดีของนัก
คอมพิวเตอร์ ควรมีลักษณะ ดังนี้
1. เป็นนักวางแผนที่ดี
2. เป็นนักออกแบบที่สร้างสรรค์
3. เป็นนักจิตวิทยา
4. เป็นผู้มีสติ
5. เป็นผู้มีความรับผิดชอบ
6. เป็นผู้ใช้ศาสตร์ใช้ศิลป์ได้อย่างกลมกลืน
7. เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
8. มีความขยัน อดทน
9. มีความกระตือรือร้น สนใจค้นคว้าอยู่เสมอ
10. มีจรรยาต่อวิชาชีพ
4. จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์

จรรยาบรรณต่อตนเอง
  1. ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
        1.1 ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและหน่วยงานที่สังกัด
        1.2 ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
  2. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
        2.1 ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
        2.2 ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติดี
        2.3 รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
  3. ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
        3.1 ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
        3.2 ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
        3.3 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ ผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อสังคม
  4. ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
        4.1 ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎ ระเบียบ และหลักคุณธรรม จริยธรรม
        4.2 ไม่ใช้อำนวยหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์
        4.3 ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
 5. เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม
 5.1 รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
 5.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้
5. การพัฒนาบุคลิกภาพนักคอมพิวเตอร์
          งานอาชีพคอมพิวเตอร์นับว่ามีความสำคัญต่อหน่วยงาน  สถาบัน  และองค์กรทางธุรกิจต่างๆ มากมาย  ดังนั้นผู้ที่เป็นนักคอมพิวเตอร์ จำเป็นจะต้องมีบุคลิกที่เอื้ออำนวยให้เกิดภาพลักษณ์ในทางบวกต่อตนเองและงานอาชีพ  ในที่จะขอกล่าวถึงบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในงานอาชีพคอมพิวเตอร์  ซึ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงบุคลิกปรับปรุงบุคลิกภาพให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความเชื่อถือศรัทธา  และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่มาติดต่อสื่อสาร  ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าผู้ใช้บริการ  หรือนายจ้างบุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์จึงมีส่วนช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จ  ฉะนั้นจึงควรมีการพัฒนาบุคลิกภาพในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
                    1.  รู้จักพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รอบรู้ โดยเฉพาะความรอบรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และต้องมีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ หมั่นติดตามข่าวคราว และความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพที่ทำอยู่
                    2.  รู้จักฝึกตนเองให้มีความมานะอดทน  งานอาชีพคอมพิวเตอร์เป็นงานที่อยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์  ฉะนั้นการนั่งทำงานนานๆอาจเกิดความเครียด  เมื่อยล้า  หรือเบื่อหน่ายได้ง่าย  หากต้องการให้งานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ  นักคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความมานะอดทนเป็นอย่างมาก
                    3.  รู้จักฝึกตนเองให้เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง นอกจากความรู้และทักษะแล้ว นักคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเองด้วย เพราะงานบางอย่างต้องดำเนินการตัดสินใจทันที หากขาดความเชื่อมั่น กล้าที่จะเผชิญปัญหาและอุปสรรคทุกด้าน เกิดความลังเลที่จะตัดสินใจ อาจทำให้พลาดโอกาสหรืออาจเกิดผลเสียขึ้นได้
                    4.  รู้จักปรับตัวในด้านคามมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  โดยปรับสภาพภายในจิตใจให้มีความเป็นผู้ใหญ่  มีอารมณ์เยือกเย็น  สุขุม  รอบคอบ  รู้จักการประนีประนอม  การผ่อนสั้นผ่อนยาว  รู้จักควบคุมตนเอง  นอกจากปรับตัวให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีแล้ว  ยังควรมีมารยาทในการติดต่อสื่อสารและมีศิลปะการพูดด้วย
                    5.  รู้จักปรับตัวให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยการเรียนรู้วิธีการที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุข มีการประสานงานกันอย่างราบรื่น มีเป้าหมายในการทำงานที่ตรงกัน ควรหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และรู้จักวิธีการรอมชอมเมื่อเกิดการขัดแย้ง พยายามสร้างความเป็นมิตรกับผู้ร่วมงานทุกคน     
6. จริยธรรมของนักคอมพิวเตอร์
        จริยธรรม    หมายถึง   "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ"   ในทางปฏิบัติแล้วการระบุว่าการกระทำใดผิดจริยธรรมนั้น    อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนักทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย    อย่างเช่น    กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น
ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
1.  การใช้คอมพิวเตอร์ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย หรือก่อความรำคาญ
2.  การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
3.  การเข้าถึงข้อมูลหรือใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่น     โดยไม่ได้รับอนุญาต
4.  การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การกระทำความผิด พรบ.คอมพิวเอตร์

ตัวอย่างพฤติกรรมที่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

เหตุการณ์
หนุ่มโพสต์รูปโป๊แฟนสาวลงอินเทอร์เน็ต หลังแฟนสาวบอกเลิก
จำเลยได้บังอาจใส่ความ นางสาวหน่อย (นามสมมติ) ผู้เสียหาย โดยการโฆษณาด้วยภาพจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ ผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นภาพการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับผู้เสียหาย จำนวน 2 ภาพ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง

         ต่อมาเมื่อวันที่ 18 กันยายน - 11 ธันวาคม 50 ต่อเนื่องกัน จำเลยนำภาพการมีเพศสัมพันธ์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นการทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งรูปภาพอันลามกส่งเป็นจดหมายอีเมล์ ผ่านเข้าระบบคอมพิวเตอร์ ไปยังผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตหลายครั้งหลายคราวต่างกัน ภายหลังผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการ กระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี (ปดส.) และสามารถจับกุมจำเลยเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551 ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมของกลางเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ชุด จำเลยให้การปฏิเสธ เหตุเกิด ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอเมืองนครสวรรค์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

         ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้เสียหายกับจำเลยเคยคบหาเป็นคนรักกันมาก่อน เคยบันทึกภาพระหว่างการมีเพศสัมพันธ์กันไว้หลายครั้ง แต่เมื่อทั้งสองคนเลิกกัน ฝ่ายชายเกิดความหึงหวง จึงนำภาพที่เคยถ่ายไว้ เผยแพร่ ทางคอมพิวเตอร์ ทั้งที่ในระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายคบกันไม่เคยมีภาพดังกล่าวปรากฏมาก่อน รับฟังประกอบกับการถ่ายโอนข้อมูลภาพทั้งหมดที่กระทำภายในคราวเดียวจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ของกลาง นอกจากนี้ พยานโจทก์ทุกปากไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะแกล้งเบิกความปรักปรำจำเลย เชื่อว่าภาพในเว็บไซต์เป็นภาพเดียวกับที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลย และถูกส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังกล่าว ส่วนในคดีแพ่งนั้นศาลเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายด้วย
ผิดพรบ.คอมพิวเตอร์
ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
โทษที่ได้รับ
 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 387 (1) วรรคสอง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (4) (5) ฐานหมิ่นประมาทให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน และฐานเพื่อการจ่ายแจก หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชนทำให้ แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งภาพอันลามก นำสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเข้าถึงได้ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (4) (5) ลงโทษจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน รวมจำคุกจำเลยเป็นเวลา 9 เดือน และให้จำเลยชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย จำนวน 200,000 บาท
เหตุผล
หนุ่มโพสต์รูปโป๊แฟนสาวลงอินเทอร์เน็ต หลังแฟนสาวบอกเลิก โดยการโฆษณาด้วยภาพจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ ผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เป็นภาพการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับผู้เสียหาย จำนวน 2 ภาพ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง และเป็นการทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งรูปภาพอันลามกส่งเป็นจดหมายอีเมล์ ผ่านเข้าระบบคอมพิวเตอร์ ไปยังผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตหลายครั้งหลายคราวต่างกัน

 

จรรยาบรรณ


  • จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานของความประพฤติ และการใช้ดุลพินิจทางศีลธรรมที่ว่าด้วยการกระทำของบุคคล บริษัท องค์กร ว่าถูกหรือผิด สมควรหรือไม่สมควร
  • จรรยาบรรณ หมายถึง การศึกษาและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการตัดสินใจภายในกรอบของมาตรฐานทาง ศีลธรรม หรือการศึกษาว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่ ถูก หรือ ดี สมควรหรือไม่สมควร
จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์

จรรยาบรรณต่อตนเอง
 
1. ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
        1.1 ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและหน่วยงานที่สังกัด
        1.2 ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด

จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
  2. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
        2.1 ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
        2.2 ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติดี
        2.3 รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ

จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
  3. ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
        3.1 ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
        3.2 ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
        3.3 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ ผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ

จรรยาบรรณต่อสังคม
  4. ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
        4.1 ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎ ระเบียบ และหลักคุณธรรม จริยธรรม
        4.2 ไม่ใช้อำนวยหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์
        4.3 ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น

จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
 5. เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม
 5.1 รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
 5.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สัปปุริสธรรม 7
ธรรมของคนดี ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี

1. ธัมมัญญุตา = รู้จักเหตุ
ความรู้จักธรรม หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล อาทิ นักเรียนรู้ว่าจะเรียนอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้น เป็นต้น
 
2. อัตถัญญุตา = รู้จักผล
ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น
 
3. อัตตัญญุตา = รู้จักตน
ความรู้จักตน คือ รู้ว่าตัว เรานั้น ว่ามีสถานภาพเป็นอะไร ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น ว่าขณะนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
 
4. มัตตัญญุตา = รู้จักประมาณ
ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ นักเรียนรู้จักประมาณ กำลังของตนเองในการทำงาน รัฐบาลรู้จักประมาณการเก็บภาษีและการใช้งบประมาณในการบริหารประเทศ เป็นต้น
 
5. กาลัญญุตา = รู้จักกาล
ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
 
6. ปริสัญญุตา = รู้จักชุมชน
ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มบุคคล รู้จักหมู่คณะ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา ต้องทำกิริยาหรือปฏิบัติแบบนี้ จะต้องพูดอย่างไร ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างไร เป็นต้น
 
7. ปุคคลปโรปรัญญุตา = รู้จักบุคคล
ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า มีอัธยาศัย มีความสามารถ มีคุณธรรม เป็นต้น ผู้ใดหยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้ จะตำหนิ หรือยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เบญจศีล หรือ ศีล 5


เบญจศีล หรือ ปัญจสีล แปลว่า ศีล 5 เป็นศีลหรือข้อห้ามในลำดับเบื้องต้นตามพระโอวาทของพระพุทธโคดม พระศาสดาแห่งพุทธศาสนาพระองค์ปัจจุบัน แต่ทั้งนี้เบญจศีลเป็นหลักการที่มีมาและเป็นที่สั่งสอนทั่วไปก่อนพระพุทธโค ดมอุบัติแล้ว[1] จัดเป็นศีลขั้นต่ำของพระโสดาบัน
เบญจศีลเป็นหลักธรรม ประจำสังคมมนุษย์ ในพิธีกรรมทั้งปวงแห่งพุทธศาสนา ภิกษุจึงนิยมกล่าวป็นภาษาบาลีมอบศีลที่ตนมีให้บุคคลร่วมรักษาด้วย เรียกว่า "ให้ศีล" และพุทธศาสนิกจักกล่าวรับปากว่าจะรักษาศีลหรือที่เรียกว่ากล่าว "รับศีล" ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ภิกษุเท่านั้นที่ให้ศีล ฆราวาส

ผู้รักษาศีลอยู่แล้วก็สามารถให้ศีลแก่บุคคลอื่นได้ด้วย ศีล 5 มีดังนี้จ้า
1. ปาณาติบาต ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ เราจักถือศีลโดยเว้นจากการเบียดเบียนชีวิต
2. อทินนาทาน อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ เราจักถือศีลโดยเว้นจากการเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
3. กาเมสุมิจฉาจาร กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ เราจักถือศีลโดยเว้นจากการประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ
4. มุสาวาท มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ เราจักถือศีลโดยเว้นจากการกล่าวเท็จ
5. สุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


"จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ
เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ"
หรือ "แนวทางของการประพฤติ"


ข้อดีของการมีจริยธรรม


ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้

  1. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว
  2. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา
  3. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
  4. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง
  5. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้

    เมื่อ คนเราไม่มีจริยธรรมการแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว ความประพฤติว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร เมื่อไม่มีจริยธรรมแล้วสิ่งที่กระทำก็จะออกมาในทางที่ไม่ดี
ประโยชน์ของจริยธรรม
จริยธรรม เป็นระบบเก่าของการทำความดี ละเว้นความชั่ว มีทั้งปัจจัยนำเข้า ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงเหตุทั้งทางด้านจิตใจ และสถานการณ์ของจริยธรรมและพฤติกรรมจริยธรรม รวมทั้งเป็นปัจจัยส่งออก ที่เป็นผลของการมีจริยธรรม หรือมีพฤติกรรมจริยธรรม โดยผลนี้อาจอยู่ในรูปแบบทั้งจิตลักษณะและพฤติกรรมของบุคคลผู้กระทำ และผลต่อบุคคลอื่น ต่อกลุ่ม ต่อสิ่งแวดล้อม และต่อโลก


 จริยธรรมเป็นความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


ระเบียบ

     ระเบียบ หมาย ถึง แบบแผนหรือข้อกำหนดที่วางไว้เป็นแนวทางให้สมาชิกในองค์กรหนึ่งๆ ปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อยขององค์กรนั้น เช่น นักเรียนทุกคนต้องแต่งเครื่องแบบให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน ข้าราชการและพนักงานทุกคน ระเบียบ เป็นข้อกำหนดในสังคมขององค์กรในการทำงาน และในการปฏิบัติตน

จุดมุ่งหมาย

     ให้นำไปปฏิบัติตน เพื่อให้เกิดความสงบสุข ความเรียบร้อย และความสวยงาม คนที่มีระเบียบ รู้จักระเบียบ และทำตนตามระเบียบจะเป็นคนที่มีความสุข เป็นที่ชื่นชมของคนอื่น และเป็นผู้ที่ทำให้สังคมเป็นสุข เช่น เขาเขียนหนังสือเป็นระเบียบดี เธอจัดวางข้าวของเป็นระเบียบ แสดงว่า เป็นคนที่ได้รับการอบรมมาอย่างดี ทหารเดินแถวอย่างมีระเบียบดูงามตา ผู้ที่มางานจอดรถเข้าที่จอดเป็นระเบียบดีทุกคน
ความแตกต่างกันระหว่าง กฏ และ ระเบียบ

- กฏ  คือ ข้อบังคับ
- ระเบียบ  คือ  ข้อปฏิบัติ

      กฎ  มีหลายความหมาย ความหมายหนึ่ง หมายถึง ข้อความหรือถ้อยคำที่บังคับให้ปฏิบัติตามการปฏิบัติตามอาจเป็นการให้กระทำ หรือไม่ให้กระทำก็ได้ อาจมีข้อกำหนดลงโทษผู้ที่ทำผิดกฎแต่การลงโทษจะหนักเบาขึ้นอยู่กับอำนาจของ ผู้ออกกฎ และการกระทำที่กำหนดเป็นกฎนั้น การทำผิดกฎอาจไม่ต้องรับโทษเลย หรือรับโทษสถานเบา เช่น การตัดสิทธิบางอย่าง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นถูกประหารชีวิต ก็ได้ เช่น พ่อตั้งกฎไว้ว่าใครวิ่งบนเรือนจะถูกเคาะตาตุ่ม หอพักนี้มีกฎห้ามคนที่ไม่ได้พักอยู่ขึ้นชั้นบนและห้ามคนที่พักอยู่รับแขกใน ห้องของตน นักเรียนทุกคนต้องทำตามกฎของโรงเรียน คนที่ทำผิดกฎจะถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้ การประกาศใช้กฎอัยการศึกก็เพื่อให้ทหารมีอำนาจปราบผู้ที่ก่อความไม่สงบให้ บ้านเมืองได้ในทันที คำว่า กฎ ตามความหมายนี้มีลักษณะเป็นข้อบังคับให้กระทำตาม จึงอาจใช้คำซ้อนว่า กฎข้อบังคับ คือ กฎที่ใช้บังคับ หรือเรียกว่า กฎเกณฑ์ หมายถึง กฎที่กำหนดไว้เป็นหลักหรือแนวทางให้ปฏิบัติตาม
      ระเบียบ หมาย ถึง แบบแผนหรือข้อกำหนดที่วางไว้เป็นแนวทางให้สมาชิกในองค์กรหนึ่งๆ ปฏิบัติเพื่อความเรียบร้อยขององค์กรนั้น เช่น นักเรียนทุกคนต้องแต่งเครื่องแบบให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน ข้าราชการและพนักงานทุกคน ระเบียบ เป็นข้อกำหนดในสังคมขององค์กรในการทำงาน และในการปฏิบัติตน เพื่อให้เกิดความสงบสุข ความเรียบร้อย และความสวยงาม คนที่มีระเบียบ รู้จักระเบียบ และทำตนตามระเบียบจะเป็นคนที่มีความสุข เป็นที่ชื่นชมของคนอื่น และเป็นผู้ที่ทำให้สังคมเป็นสุข เช่น เขาเขียนหนังสือเป็นระเบียบดี เธอจัดวางข้าวของเป็นระเบียบ แสดงว่า เป็นคนที่ได้รับการอบรมมาอย่างดี ทหารเดินแถวอย่างมีระเบียบดูงามตา ผู้ที่มางานจอดรถเข้าที่จอดเป็นระเบียบดีทุกคน